[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


สาวนี คุ่ยเจริญ


ชื่อนวัตกรรม
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | แชร์  เข้าชม 911
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2563
ชื่อผู้พัฒนา สาวนี คุ่ยเจริญ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล)   สังกัด   สพฐ.
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
วัตถุประสงค์เฉพาะ
พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
การวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

สื่อและแหล่งเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร
การวัดและประเมินผล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตระดับความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
การถอดบทเรียน พบว่า การจัดการเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร ทำให้นักเรียนกระตือรือร้น นักเรียนได้ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากในระหว่างการทดลอง ครูผู้สอนได้ทำการบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน พบว่านักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนได้เตรียมกิจกรรมที่เน้นการเคลื่อนไหว การทำงานกลุ่ม เกม และเพลง ที่ต้องใช้ท่าทางประกอบดังนั้นนักเรียนจึงรู้สึกเพลิดเพลิน และไม่รู้สึกว่ากำลังเรียนภาษาอังกฤษ
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1.1 จากผลการวิจัย พบว่า วิธีสอนโดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร ใช้ได้ดีกับนักเรียนที่มีพื้นฐานการฟัง การพูด ภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน โดยไม่ทำให้ผู้ที่มีพื้นฐานดีกว่า เกิดความเบื่อหน่ายและไม่ทำให้นักเรียน ที่มีพื้นฐานน้อยกว่า หรือไม่มีพื้นฐานเลยเกิดความท้อถอย การให้นักเรียนที่มีพื้นฐานดีกว่าเป็นผู้นำ นอกจากจะสร้างความภาคภูมิใจ และความเชื่อมั่นในตนเอง ให้พวกเขาแล้ว นักเรียนเหล่านี้ยังสามารถช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความราบรื่น มีบรรยากาศที่เป็นกันเองยิ่งขึ้น
1.2 ครูผู้สอนควรคำนึงถึงรูปแบบในการจัดชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน ควรจะมีเนื้อที่ว่างเพียงพอกับการจัดกิจกรรม และการจัดที่นั่งเพื่อความเหมาะสมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
1.3 การเลือกเนื้อหาที่สอน ควรคำนึงถึงลำดับขั้นตอน ของความยากง่าย เชื่อมโยงจากสิ่งที่เรียนมาแล้ว ไปสู่เนื้อหาที่มีความยากหรือซับซ้อนขึ้น
1.4 ครูผู้สอนควรใช้กิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การปฏิบัติตามคำสั่ง การแสดง ท่าทาง ภาษาใบ้ การวาดภาพระบายสีตามข้อมูลที่ได้รับ และควรใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และเป็นการสร้างโอกาสให้นักเรียนฝึกการฟัง ได้เป็นอย่างมาก
1.5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่โดยใช้เทคนิค TPR เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นอื่นๆ



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883