|
ประเภทนวัตกรรม
การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา
2563
ชื่อผู้พัฒนา
รัตนาภรณ์ จันทร์พล
หน่วยงาน
โรงเรียนตลาดบางคูลัด สังกัด สพฐ.
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้
(2.1) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา
(2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านจิตคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
(2.3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยออกแบบการวิจัยเป็นแบบ Embedded Design ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลักและวิธีการเชิงคุณภาพเป็นรองและใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
การวัดและประเมินผล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
-
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
-
|