[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นายธนินท์รัฐ กฤษฎิ์ฉันทัชท์ ศิริวิศาลสุว. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา
 
  เข้าชม 9,380 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. ประสิทธิภาพของนวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หรือไม่ 2. ดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน มีค่าเท่าใด 3. เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน เป็นอย่างไร 4. เปรียบเทียบเจตคติวิชาภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน เป็นอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน
4. เพื่อเปรียบเทียบเจตคติวิชาภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน

3. สมมติฐานการวิจัย
1. ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียนมีค่าประสิทธิผลมากกว่า 0.5 ขึ้นไป
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน
4. เจตคติต่อวิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน

4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 มีทั้งสิ้น 3 ห้องเรียน จำนวน 142 คน (กลุ่มสารสนเทศ สนผ., สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2558: ออนไลน์)

กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ซึ่งการได้มาของกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2547: 131) ด้วยการจับสลากจากจำนวน 3 ห้องเรียน คือ ป.4/1 ป.4/2 และ ป.4/3 เนื่องจากโรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์มีการคละความสามารถทางการเรียนรู้ของนักเรียนทุกห้องเรียน ทั้งนี้นักเรียนทั้ง 3 ห้องเรียนนั้นจึงมีความทัดเทียมกันสามารถเป็นกลุ่มตัวอย่างของประชากรได้อย่างสมบูรณ์

เครื่องมือที่ใช้
1. เพลง ประไม่ประจำง่ายขึ้นใจ จำนวน 1 เพลง
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำที่ประวิสรรชนีย์และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน จำนวน 8 แผน เวลา 8 ชั่วโมง
3. แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ฉบับ ทั้งสิ้น 20 ข้อ
4. แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาไทย จำนวน 1 ฉบับ ทั้งสิ้น 20 ข้อ

ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ในเดือนสิงหาคม 2558
การวิเคราะข้อมูล
1. หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน
3. ศึกษาผลทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย เรื่อง คำที่ประวิสรรชนีย์และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน โดยการวิเคราะห์จากค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย ค่าความเชื่อมั่น และค่าที (t-test)
4. ศึกษาเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียน โดยการวิเคราะห์จากค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที(t-test)

5. ผลการวิจัย
1. ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่น เรื่อง คำที่ประวิสรรชนีย์และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.59/80.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่น เรื่อง คำที่ประวิสรรชนีย์และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ เท่ากับ 0.7483 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 74.83
3. ผลทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำที่ประวิสรรชนีย์และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. การใช้ประโยชน์
1. จากผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรมร้องเล่นเต้นเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.59/80.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ตามที่เกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 ที่กำหนดไว้ ดังนั้น ครูผู้สอนในสถานศึกษาระดับชั้นที่มีบริบทใกล้เคียงกันสามารถนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยได้
2. จากผลการวิจัยพบว่า ผลทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย เรื่อง คำที่ประวิสรรชนีย์และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 ที่กำหนดไว้ ดังนั้น ครูผู้สอนในสถานศึกษาระดับชั้นที่มีบริบทใกล้เคียงกันสามารถนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รวมทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในสาระการเรียนรู้อื่นได้
3. เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ต่อไป


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883