[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางมาลี พิณสาย. (2557). รายงานผลการวิจัยและพัฒนาความสามารถครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการนิเทศร่วมใจพัฒนานำพาสู่การสอนคิด
 
  เข้าชม 1,328 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาความสามารถครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการนิเทศร่วมใจพัฒนา นำพาสู่การสอนคิด ในด้านพฤติกรรมการยอมรับการพัฒนา พฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรม การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการนำนวัตกรรมไปใช้ การนิเทศชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัด การเรียนรู้ การสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้สู่การพัฒนาการคิดที่มีคุณภาพ เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการพัฒนาความสามารถครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการนิเทศร่วมใจพัฒนา นำพาสู่การสอนคิด ที่มีต่อครูผู้สอน ที่มีต่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อกระบวนการนิเทศร่วมใจพัฒนา นำพาสู่การสอนคิด และที่มีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้สู่การพัฒนาการคิด ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 110 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 660 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 11 ฉบับ แบบทดสอบหลังศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จำนวน 1 ฉบับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จำนวน 2 ฉบับ และแบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
2. วัตถุประสงค์
-
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
-
เครื่องมือที่ใช้
-
ช่วงเวลาการทดลอง
-
การวิเคราะข้อมูล
-
5. ผลการวิจัย
1. ผลการวิเคราะห์การดำเนินกิจกรรมการพัฒนาความสามารถครูผู้สอนวิทยาศาสตร์
ด้วยกระบวนการนิเทศร่วมใจพัฒนา นำพาสู่การสอนคิด
1.1 พฤติกรรมการยอมรับการพัฒนา ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ทุกคนมีพฤติกรรม
การยอมรับการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 100
1.2 พฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรม ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์มีพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการนำนวัตกรรมไปใช้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
1.4 การจัดการเรียนรู้ ประเมินโดยผู้บริหารโรงเรียน
1.4.1 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้โดยผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพเพิ่มขึ้นทุกด้าน ทั้ง 9 ด้าน และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
1.4.2 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้โดยผู้บริหารโรงเรียน เมื่อเวลาผ่านไป
1 ภาคเรียน ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพเพิ่มขึ้นทุกด้านทั้ง 9 ด้าน อย่างต่อเนื่อง และคงสภาพการจัดการเรียนรู้อยู่ได้ แม้เวลาผ่านไป 1 ภาคเรียน
1.5 การสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน มีผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินคุณภาพชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้สู่การพัฒนาการคิด ทั้ง 9 เล่ม และแยกเป็นรายเล่ม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการวิเคราะห์การพัฒนาความสามารถของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการนิเทศ ร่วมใจพัฒนา นำพาสู่การสอนคิด ที่มีต่อครูผู้สอน
3.1 การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ ด้านความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ หลังจากการศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้สู่การพัฒนาการคิด กับเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3.2 ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และยังคงคุณภาพพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้
อย่างต่อเนื่อง เมื่อเวลาผ่านไป 1 ภาคเรียน
3.3 ผลการประเมินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการนิเทศร่วมใจพัฒนา นำพาสู่การสอนคิด ที่มีต่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.1 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการคิดของนักเรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ที่กำหนด ร้อยละ 60 คิดเป็นร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 60 คิดเป็นร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4.3 ผลการประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 60 คิดเป็นร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
5. ผลการวิเคราะห์การประเมินความพึงพอใจ ประกอบด้วย
5.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน ที่มีต่อกระบวนการนิเทศร่วมใจพัฒนา นำพาสู่การสอนคิด และมีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้สู่การพัฒนาการคิด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
5.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

6. การใช้ประโยชน์
-

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883