[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
ว่าที่เรือตรียุตติชน บุญเพศ. (2557). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคคำถามแบบ R-C-A เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองน้ำขุ่น
 
  เข้าชม 2,635 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1)พฤติกรรมทักษะชีวิตของนักเรียนจากผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับใด 2)ผลการทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างไร 3)รูปแบบการป้องกันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหายาเสพติด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นรูปแบบใด 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้เทคนิคคำถามแบบ R-C-Aอยู่ในระดับใด
2. วัตถุประสงค์
1)ศึกษาระดับพฤติกรรมทักษะชีวิตของนักเรียนจากผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2)เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
3)เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการป้องกันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้เทคนิคคำถาม
แบบ R-C-A
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองน้ำขุ่น ปีการศึกษา 2557 ทั้งชั้น จำนวน 12 คน
เครื่องมือที่ใช้
1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต โดยในแต่ละแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม เวลาในการจัดการเรียนรู้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด พฤติกรรมทักษะชีวิต
ชิ้นงาน/ภาระงาน กิจกรรมการเรียนรู้ คำถามสนทนาแบบ R - C - A สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
ใบความรู้ ใบกิจกรรม การวัดและประเมินผล แบบบันทึกผลการสนทนาด้วยคำถาม R - C – A
2) แบบทดสอบประจำแผนการเรียนรู้ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 2/2557
การวิเคราะข้อมูล
1. การวิเคราะห์ระดับพฤติกรรมทักษะชีวิต ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย
2. การเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน จากการทำแบบทดสอบประจำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยสถิติที่ใช้ คือ วิเคราะห์ค่าที (t-test dependent) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย
3. ในส่วนของรูปแบบการป้องกันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหายาเสพติด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยสรุปและสังเคราะห์คำตอบที่ได้จากผลการสนทนาที่ผู้เรียนได้สะท้อน เชื่อมโยงและปรับใช้ ตามแนวเทคนิคการใช้คำถาม R - C – A หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป็นรูปแบบการป้องกันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน โดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) นำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย

5. ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาระดับพฤติกรรมทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับดี
2. การศึกษาเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองน้ำขุ่น พบว่า การทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. รูปแบบการป้องกันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดของนักเรียน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการรับรู้ข้อมูลของยาเสพติด (จากการอ่านข่าว อินเตอร์เน็ต ดูทีวี อ่านหนังสือ จากการสอนของครู ผู้ปกครอง พ่อ/แม่) 2) ขั้นการตระหนักรู้/เห็นคุณค่า (ถึงโทษภัย ว่าเป็นสิ่งไม่ดี ผิดกฎหมาย
เสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เสียสุขภาพ เสียเงินทอง เป็นอันตรายทั้งต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ)
3) ขั้นการตัดสินใจ (ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว การกำหนดหาทางเลือก เมื่อเผชิญปัญหา การไม่เลือกคบเพื่อนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด) 4) ขั้นรู้จักการปฏิเสธ (ควบคุมตนเองจากสิ่งยั่วยุ จากคำเชิญชวนของเพื่อน พี่หรือคนใกล้ชิด)
4. ผลการศึกษาความความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนจากการตอบแบบประเมิน โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.81 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด 3 อันดับ เรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตและสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติด กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงและเนื้อหาในกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับนักเรียน

6. การใช้ประโยชน์
1. ทราบผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ R-C-A ที่มีต่อ
การพัฒนาทักษะชีวิตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ว่าจุดใดควรพัฒนาต่อและจุดใดควรเน้นเป็นพิเศษ
2. นำรูปแบบการป้องกันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการเรียนการสอนและการประเมินทักษะชีวิตของนักเรียนต่อไป
3. ครูผู้สอนสามารถนำไปเป็นข้อเสนอแนวทางในการวางแผน เตรียมความพร้อมในการจัดการกับปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883