[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
_SCRIPT _VERSION
Home
Research
Innovation
วิธีนำเสนอผลงาน
สมัครสมาชิก
คู่มือการใช้
ผู้ดูแลระบบ
ชื่องานวิจัย
ระเบียบ สิทธิชัย. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา น่าน เขต 2 ปีงบประมาณ 2554
บทคัดย่อ
|
ทฤษฎี
|
ครื่องมือวิจัย
|
เข้าชม 1,816
| แชร์
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1) ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร 2) ผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นอย่างไร 3) ผลการนำชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่งเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไปใช้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 เป็นอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้านความรู้ความเข้าใจของครูผู้ใช้ชุดฝึกอบรม ด้านความสามารถของครูในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และด้านความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมทางอีเลิร์นนิ่ง
3) เพื่อศึกษาผลการนำชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่งเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไปใช้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
3. สมมติฐานการวิจัย
1) ชุดฝึกอบรมครูที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ครูมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลังเข้ารับ การฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม และสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี 3) ครูมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 2 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลาก
เครื่องมือที่ใช้
1) ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2) แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ชุด
3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของครูผู้สอนกลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เข้ารับ การฝึกอบรม
ช่วงเวลาการทดลอง
ปีการศึกษา 2554
การวิเคราะข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ดังนี้
- แบบประเมินหลักสูตรและชุดฝึกอบรมวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)
- แบบทดสอบวิเคราะห์หาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
- แบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
- แบบประเมินงานวิจัยของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
5. ผลการวิจัย
5.1) ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบในภาพรวมสอดคล้องกัน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.88 และมีความเหมาะสมระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 กิจกรรมในชุดฝึกอบรมมีความเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยมีความเห็นว่ารูปแบบการฝึกอบรมครูควรมีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของครู และเหมาะสมกับสภาพ ความเป็นจริงของครูที่ใช้เวลาในการฝึกอบรมนอกเวลาสอนในโรงเรียน รวมทั้งสื่อการฝึกอบรมต้องให้ความสะดวกกับครูที่จะเลือกเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความต้องการโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
5.2) ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสิทธิภาพ 80.00/80.97 เป็นไปตามตามเกณฑ์ 80/80
5.3) ความสามารถของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ อยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เท่ากับ 2.62 ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมทางอีเลิร์นนิ่งในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15
6. การใช้ประโยชน์
ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่งมีประสิทธิภาพ สำหรับเป็นแนวทางในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ที่ครูผู้สอนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาครูทางอีเลิร์นนิ่งในกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือการฝึกอบรมแบบอื่นๆ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง
7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883