[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
_SCRIPT _VERSION
Home
Research
Innovation
วิธีนำเสนอผลงาน
สมัครสมาชิก
คู่มือการใช้
ผู้ดูแลระบบ
ชื่องานวิจัย
นางรัศมี อ่วมน้อย. (2557). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
เข้าชม 1,724
| แชร์
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 จะมีประสิทธิภาพเท่าไร 2. การใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดย 2.1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 จะมีค่าเท่าไร 2.2 จิตวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1จะมีค่าเท่าไร 2.3 ระดับความสุขในการเรียนรู้หลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 จะมีระดับใด
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
2. เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดย
2.1 เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
2.2ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
2.3ศึกษาระดับความสุขในการเรียนรู้หลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
3. สมมติฐานการวิจัย
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2557 จำนวน 14 คน โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้
1.กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรม และแผนการจัดประสบการณ์จำนวน 15หน่วยการเรียนรู้
2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่มีคำถามเป็นรูปภาพเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 3 ตัวเลือกมีเกณฑ์การให้คะแนน คือ ตอบถูกให้ 1 คะแนนตอบผิดให้ 0 คะแนนจำนวน 20 ข้อ
3. แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมที่บ่งชี้คุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์โดยครูผู้สอนเป็นผู้สังเกต และแบบประเมินตนเองวัดพฤติกรรมที่บ่งชี้คุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์จำนวน 6 ด้าน คือสนใจใฝ่รู้ความมุ่งมั่นมีระเบียบและรอบคอบความมีเหตุผลความใจกว้างและความซื่อสัตย์
4. แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ เป็นแบบสอบถามความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและใจต่อการทำกิจกรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อคำถามและให้นักเรียนตอบจากภาพใบหน้า 3 แบบ ที่ตรงกับความคิด ความรู้สึกของนักเรียนมากที่สุด
ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2557
การวิเคราะข้อมูล
ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการใช้สถิติทดสอบแบบกลุ่มเดียวที่ไม่อิสระต่อกัน (One Sample t-test)
5. ผลการวิจัย
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการตามขั้นตอนสรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนจนได้กิจกรรมจำนวน 15 หน่วยการเรียนรู้และพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆของกิจกรรมพบว่ากิจกรรมทั้ง 15 หน่วยการเรียนรู้โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.29/84.00
2. ผลการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีผลคือ
2.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบว่าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2ผลการศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2.3ผลของระดับความสุขในการเรียนรู้หลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
6. การใช้ประโยชน์
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาปฐมวัยสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปกำหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านทักษะกระบวนการของเด็กปฐมวัยได้
7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883