[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
_SCRIPT _VERSION
Home
Research
Innovation
วิธีนำเสนอผลงาน
สมัครสมาชิก
คู่มือการใช้
ผู้ดูแลระบบ
ชื่องานวิจัย
อุไรวรรณ ภูเจริญ. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา.
บทคัดย่อ
|
ทฤษฎี
|
ครื่องมือวิจัย
|
นวัตกรรม
|
เข้าชม 3,846
| แชร์
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา
2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา ในด้าน
2.1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง ตามหลัก Brain Based Learning
2.2) ความสามารถ ในการออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning
2.3) ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา
3. สมมติฐานการวิจัย
1) หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา มีความเหมาะสมในระดับมาก และมีค่าดัชนีความสอดคล้องไม่ต่ำกว่า 0.5
2) ครูที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง ( Brain Based Learning) หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม
3) ครูที่เข้ารับการอบรมมีความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง อยู่ในระดับดี
4) ความพึงพอใจของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา มีผลประเมินความพึงพอใจ ไม่ต่ำกว่าระดับมาก
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
1,1) ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 80 คน จาก 7 โรงเรียน ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดฝึกอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ดังนี้
1) โรงเรียนอนุบาลเขาฉกรรจ์ จำนวน 21 คน
2) โรงเรียนบ้านท่าเกษม จำนวน 13 คน
3) โรงเรียนบ้านคลองเจริญ จำนวน 11 คน
4) โรงเรียนบ้านพระเพลิง จำนวน 9 คน
5) โรงเรียนบ้านโคกน้อย จำนวน 10 คน
6) โรงเรียนบ้านคลองเจริญสุข จำนวน 10 คน
7) โรงเรียนบ้านนาดี จำนวน 6 คน
1,2) โรงเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ มีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้
1) ผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนการดำเนินการตามหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา
2) คณะครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง และ
มีความสนใจต้องการรับการฝึกอบรมตามหลักสูตร
3) โรงเรียนระดับประถมศึกษา ที่ครูทุกระดับชั้นสนใจเข้าร่วมฝึกอบรมตามหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดฝึกอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
เครื่องมือที่ใช้
2.1) หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา
2.2) แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของหลักสูตร แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning แบบประเมินความสามารถในการออกแบบจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning
2.3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา
ช่วงเวลาการทดลอง
ปีการศึกษา 2553
การวิเคราะข้อมูล
ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test การพัฒนาหลักสูตรมีวิธีดำเนินการ
4 ขั้นตอน คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาหลักสูตร การจัดทำร่างหลักสูตรฝึกอบรม การทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของหลักสูตร และการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร
5. ผลการวิจัย
หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา มีความเหมาะสมในระดับมาก และมีค่าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่าเกณฑ์ ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการออกแบบจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning อยู่ในระดับดี ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่ สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียนระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับมาก
6. การใช้ประโยชน์
1) ได้หลักสูตรฝึกอบรมครู เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองนักเรียน ระดับประถมศึกษา ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการฝึกอบรมบุคลากรครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง (Brain Based Learning)
2) หน่วยงานต้นสังกัด โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำหลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นไปใช้ฝึกอบรม บุคลากรครูในสถานศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง (Brain Based Learning)
7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883