[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
รัชนู บัวพันธ์. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
 
  เข้าชม 1,713 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1) การสร้างเอกสารประกอบการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างไร 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืดโดยใช้ ระหว่างกลุ่มที่สอนด้วยเอกสารประกอบการเรียนฯ กับกลุ่มที่สอนด้วยวิธีปกติต่างกันอย่างไร 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืดโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ หลังเรียนต่างกับก่อนเรียนด้วยอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างเอกสารประกอบการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ของพืชน้ำและปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้
2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนฯ กับวิธีสอนแบบปกติ
2.2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืดโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนฯ กับวิธีสอนแบบปกติ
2.3) เปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์นักเรียนหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืดโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 ห้อง คือ ห้อง ม. 4/1 และห้อง ม.4/2 จำนวน 80 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แล้วทำการจับสลากสุ่มให้ได้เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง เป็นนักเรียนห้องที่เรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยผู้วิจัย(นางรัชนู บัวพันธ์)เป็นผู้สอน
เครื่องมือที่ใช้
1) เอกสารประกอบการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 เล่ม
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็น แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ
3) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ)
4) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ (แบบสอบถามจำนวน 30 ข้อ)
ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ใช้เวลา 12 สัปดาห์ๆ ละ 2 ชั่วโมง (16 พฤษภาคม – 10 สิงหาคม 2555)
การวิเคราะข้อมูล
1) หาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนแต่ละเล่ม โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากการทำกิจกรรมแต่ละชุด คิดเป็นร้อยละ จากนั้นนำผลที่ได้มาเทียบและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สอนโดยเอกสารประกอบการเรียน กับวิธีสอนแบบปกติโดยใช้สถิติทดสอบที
3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สอนโดยเอกสารประกอบการเรียนกับวิธีสอนแบบปกติโดยใช้สถิติทดสอบที
4) นำข้อมูลที่ได้จากการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยกำหนดเกณฑ์
5. ผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า เอกสารประกอบการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.70/85.50 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 37.33 1.93 ( S.D.) มีค่าความก้าวหน้าเท่ากับ 20.35 3.13 ( S.D.) ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 32.45 1.63 ( S.D.) และคะแนนความก้าวหน้าเท่ากับ 14.83 3.37 ( S.D.) ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 46.30 2.47 ( S.D.) มีค่าความก้าวหน้าเท่ากับ 24.60 3.49 ( S.D.) ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 39.30 2.42 ( S.D.) และคะแนนความก้าวหน้าเท่ากับ 14.17 3.97 ( S.D.) ของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ 1) ทักษะการสังเกต มากที่สุด รองลงมาได้แก่ 2) ทักษะการวัด 3) ทักษะการคำนวณ 4) ทักษะ การจำแนกประเภท 5) ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา 6) ทักษะการจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล 7) ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล 8) ทักษะการพยากรณ์ 9) ทักษะการตั้งสมมติฐาน 10) ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 11) ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร 12) ทักษะการทดลอง 13) ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป ตามลำดับ การวัดจิตวิทยาศาสตร์นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3.53 0.56 ( S.D.)
6. การใช้ประโยชน์
1) มีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์ เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ สามารถค้นพบความรู้ด้วยตนเองมากที่สุด มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ และมีพื้นฐานความรู้ที่จะศึกษาเรื่องอื่นๆ ที่ซับซ้อนต่อไปได้
3) มีนวัตกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืดโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน และผู้สนใจทั่วไป
4) ได้ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืดในพื้นที่ลุ่มน้ำพุง
เพื่อนำไปอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
5) ได้แนวคิดเพื่อสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883