|
ประเภทนวัตกรรม
การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา
2565
ชื่อผู้พัฒนา
นางสาวนาตยา เนียมชัยภูมิ
หน่วยงาน
โรงเรียนนาค้อวิทยาคม สังกัด สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” มีกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการ สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ สอดคล้องกับหลักการ แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยปี พ.ศ.๒๕๖๐ นอกจากนี้ถือเป็นเครื่องมือการจัดการเรียนรู้ที่ดีอย่างยิ่งสำหรับครูผู้สอน สามารถแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริงและการค้นหาคำตอบในเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อในความเป็นจริงที่เด็กมีความสนใจและพยายามสืบค้นด้วยตนเองผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงานซึ่งได้กำหนดให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้เป็นหน่วยการเรียนรู้โดยครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำและอำนวยความสะดวกเท่านั้น ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ตัวและตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับเด็ก ครูผู้สอนกับพ่อแม่ ผู้ปกครองและโรงเรียนกับครอบครัว ชุมชน เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือกับครูในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ทุกรูปแบบ นับว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อประโยชน์อย่างมากต่อการจัดการศึกษา
ปฐมวัยและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
โรงเรียนนาค้อวิทยาคม เปิดทำการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นอนุบาลปีที่ ๓ จำนวน 2 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 17 คน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 2 คนประกอบด้วย ข้าราชการครูจำนวน 2 คน โดยมีครูที่จบวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ตรงตามวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยและมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ตลอดจนการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจของเด็ก ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐ และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา พุทธศักราช ๒๕๖๐ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๒) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕และ(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ สอดคล้องกับชุมชนและท้องถิ่น
นอกจากนี้โรงเรียนนาค้อวิทยาคม มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนระดับปฐมวัยเน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เตรียมความพร้อม ที่เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่เน้นการทดลอง ลงมือปฏิบัติและการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสมตามวัย ตามความถนัดและความสนใจของเด็กได้เต็มตามศักยภาพ โดยอาศัยความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย รวมทั้งมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง จึงได้นำโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” มาบูรณาการ ปรับประยุกต์ใช้และออกแบบให้เป็นรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนนาค้อวิทยาคมขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการระดับปฐมวัย อีกทั้งเป็นสิ่งหนึ่งที่มี
ความสำคัญในการช่วยให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นได้ภายใต้รูปแบบ “การจัดประสบการณ์บูรณาการ กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบ Active Learning ประกอบกับการใช้กระบวนการบริหารตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) เพื่อให้สามารถจัดประสบการณ์เรียนรู้ ระดับปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาโดยมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
วัตถุประสงค์เฉพาะ
๑. เพื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สู่ทักษะด้านต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจของเด็ก ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนเด็กที่มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ให้เป็น “การจัดประสบการณ์บูรณาการ กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
๓. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนระดับปฐมวัยสามารถจัดการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย ภายใต้รูปแบบ “การจัดประสบการณ์บูรณาการ กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย มาใช้เป็นกลไกหลักในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การกำหนดรูปแบบจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมด้วยหลักการ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สู่ทักษะด้านต่าง ๆ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เพื่อการเรียนรู้ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประกอบกับการใช้ทฤษฎีระบบ (system theory) กระบวนการบริหารตามวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) ในการดูแล ควบคุมและกำกับติดตามการดำเนินงาน โดยยึดหลักการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาลส่งผลให้การดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นเตรียมการ (Plan)
เป็นขั้นตอนสำคัญที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นขั้นที่เสมือนตัวกำหนดทิศทางของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เป็นการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ปัจจัยต่าง ๆ และผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนา ส่งเสริมและลดช่องว่างทางการเรียนรู้
1) ศึกษาปัญหา จดบันทึก เก็บและรวบรวมข้อมูล
2) ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (3 – 5 ปี) และคู่มือหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
3) ศึกษาเอกสารตำรา และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์ น้อยประเทศไทย เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน เพื่อให้เด็กเกิดแนวคิดได้ประสบการณ์สำคัญตามที่กำหนดไว้
ขั้นดำเนินการ (DO) การจัดกิจกรรมตามโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อย เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วิธีการหรือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยนำการทดลอง ๒๐ กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และกิจกรรมโครงงาน แบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ เริ่มต้นโครงงาน เป็นระยะที่ครูผู้สอนสังเกต/ สร้างความสนใจในเรื่องที่จะเรียนรู้ แล้วตกลงร่วมกันเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป
ระยะที่ ๒ ขั้นพัฒนาโครงงาน เป็นขั้นที่เด็กกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหาที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจที่ร่วมกันกำหนดเป็นหัวข้อเรื่อง แล้วตั้งสมมุติฐานมาตอบคำถามเหล่านั้นทดสอบสมมุติฐานด้วยการลงมือปฏิบัติ จนค้นพบคำตอบด้วยตนเอง โดยครูผู้สอนใช้เทคนิคการตั้งคำถาม และสอดแทรกกระบวนการเรียนรู้ Unplugged Coding ผ่านกิจกรรม ข้าวโพดหรรษา ภาษาโคดดิ้ง ในกระบวนการสืบเสาะเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาการคำนวณของเด็ก
ระยะที่ ๓ ขั้นรวบรวมสรุป เป็นระยะสุดท้ายของโครงงานที่เด็กค้นพบคำตอบของปัญหาแล้ว และเด็กได้แสดงให้ครูผู้สอนเห็นว่าได้สิ้นสุดความสนใจในหัวข้อโครงงานเดิม และเริ่มหันเหความสนใจออกไปสู่เรื่องใหม่ ซึ่งนำไปสู่การจัดทำโครงงาน “อร่อยเด็กข้าวโพดแกะเมล็ดคลุกเนย” และการทดลองเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ ๓ โรงเรียนนาค้อวิทยาคม โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการในขั้นตอน ดังนี้
- ให้เด็กบันทึกการศึกษาค้นคว้า
- สรุปนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นการตรวจสอบประเมินผล (Check)
เป็นขั้นตอนของการประเมินผลการจัดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสะท้อนผลการจัดแระสบการเรียนรู้ของครูผู้สอนและเป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก ประเมินพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ตามสภาพจริง โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ประกอบด้วยการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม การสนทนา พูดคุย สัมภาษณ์เด็กเป็นรายบุคคล การรวบรวมผลงาน เก็บเป็นแฟ้มผลงานของเด็ก
ขั้นการปรับปรุงพัฒนา (Action) เป็นขั้นตอนของการสรุปผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อย เป็นการนำผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และผลการประเมินพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านของนักเรียนมาปรับปรุง แก้ไขสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วหากไม่บรรลุผลสำเร็จ กลับไปทบทวน และวางแผนการดำเนินงานและการพัฒนาซ้ำจนกว่าจะบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-ชั้นเรียน
-ชุมชน
-อินเตอร์เน็ต
การวัดและประเมินผล
- การสังเกตพฤติกรรม
- การทดลองปฏิบัติ
- การตอบคำถาม
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
บทบาทครู
แนะนำสนับสนุนกิจกรรม
บทบาทนักเรียน
ศึกษา สืบเสาะสิ่งที่ตนเองอยากรู้
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ครูผู้สอนต้องดูเลควบคุมทุกกิจกรรมที่นักเรียนลงมือปฏิบัติ
|