นางวงศิริ หวังเหนี่ยวกลาง
|
|
ประเภทนวัตกรรม
การบริหารจัดการ
ปีที่พัฒนา
2563
ชื่อผู้พัฒนา
นางวงศิริ หวังเหนี่ยวกลาง
หน่วยงาน
โรงเรียนบ้านหนองไผ่ สังกัด สพป.นครราชสีมา เขต 5
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การประเมินผลโครงการแบบซิป (CIPP Model) ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งมุ่งประเมิน 4 ด้าน ในองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ (1) การประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ (2) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) (3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) (4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อประเมินสภาพการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยใช้รูปแบบการประเมินผลโครงการแบบซิป (CIPP Model) ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
1. ศึกษาเอกสาร คู่มือ แนวคิด ตำรา บทความ ตลอดจนเอกสารประกอบงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินรายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
2. ศึกษาวิธีการ หลักการ ทฤษฎี และเทคนิคการสร้างแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคิร์ท (Likert)โดยให้คะแนนของมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบทดสอบชนิดถูก ผิด (True False Test)
3. ดำเนินการสร้างเครื่องมือ ให้ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ของการประเมินสภาพการดำเนินงานรายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
4. นำเครื่องมือไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
5. นำแบบสอบถามที่ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงแล้ว มาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
6. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์แล้วไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. แบบสอบถามฉบับที่ 1 และแบบสอบถามฉบับที่ 2 ตอนที่ 2 วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ( -coefficient) ของครอนบาค (Cronbach)
2. แบบสอบถามฉบับที่ 2 ตอนที่ 1 วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตามวิธีของคูลเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson Method)
การวัดและประเมินผล
การประเมินผลโครงการแบบซิป (CIPP Model) ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งมุ่งประเมิน 4 ด้าน ในองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ
(1) การประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ
(2) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น
(Input Evaluation)
(3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)
(4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
ตอบแบบประเมินด้วยความเป็นจริง
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ประเมินตามสภาพที่เป็นจริงที่ตรวจพบ
|
|