|
ประเภทนวัตกรรม
การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา
2563
ชื่อผู้พัฒนา
นายมนัสวี อุตรภาศ
หน่วยงาน
โรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร สังกัด สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
ห้องเรียนกลับด้าน จึงเป็นการเรียนที่ตอบโจทย์ทั้งผู้เรียน และผู้สอนยุคใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เด็กนักเรียนยังต้องแบ่งกลุ่ม ไปเรียนที่โรงเรียน สลับกับออนไลน์ เพื่อรับมือกับโควิด-19 และตอบโจทย์ของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ที่ต้องการฝึกให้ผู้เรียน คิด วางแผน ลงมือปฏิบัติ โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับ โดยนำสื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ตลอดเวลา และผู้เรียนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ใช้ได้อย่างเท่าเทียม
วัตถุประสงค์เฉพาะ
ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง จำนวนเต็ม
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
1. ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พุทธศักราช 2551 ของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี คำอธิบายรายวิชา และหน่วยการเรียนรู้
2. ศึกษาเอกสาร แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
3. ศึกษาเอกสาร แนวคิด เกี่ยวกับวิธีการ และขั้นตอนการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
4. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเต็ม จำนวน 16 แผน รวมเวลา 16 ชั่วโมง
5. นำแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์ตรวจสอบ เกี่ยวกับความเหมาะสมเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ระดับชั้น ผลการเรียนรู้ ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ กระบวนการวัดผล และประเมินผล แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามคำแนะนำ
6. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้ว จำนวน 16 แผน รวม 16 ชั่วโมงเสนอผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้อง และความเหมาะสมโดยหาค่า IOC ดังนี้
+1 เมื่อแน่ใจว่า แผนมีความสอดคล้องและเหมาะสม
0 เมื่อไม่แน่ใจว่า แผนมีความสอดคล้องและเหมาะสม
-1 เมื่อแน่ใจว่า แผนไม่มีความสอดคล้องและเหมาะสม
แล้วนำผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณแต่ละข้อ เพื่อหาดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ หากมีดัชนีความสอดคล้อง 0.50 ขึ้นไป จะถือว่าแผนการจัดการเรียนรู้นั้นสามารถนำไปใช้ได้
7. นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเต็ม มาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์
8. สร้างสื่อบทเรียนปฏิสัมพันธ์ เรื่อง จำนวนเต็ม ด้วย Edpuzzle นำสื่อไปเผยแพร่ในกลุ่มเฟซบุ๊ก ในรูปแบบหน่วยการเรียนรู้ทางโซเชียล จำนวน 24 บทเรียน
9. นำสื่อและแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้
การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องจำนวนเต็ม ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
1. วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ (ตัวชี้วัด)
2. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จำนวนเต็ม ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน
3. นำแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา รวม 3 ท่านตรวจสอบ เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ดังนี้
+1 เมื่อแน่ใจว่า แผนมีความสอดคล้องและเหมาะสม
0 เมื่อไม่แน่ใจว่า แผนมีความสอดคล้องและเหมาะสม
-1 เมื่อแน่ใจว่า แผนไม่มีความสอดคล้องและเหมาะสม
4. นำแบบทดสอบมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงนำไปใช้เก็บรวบรวมคะแนนกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน รวม 14 ชั่วโมง
สื่อบทเรียนปฏิสัมพันธ์ Edpuzzle จำนวน 24 ตอน
แบบฝึกหัดออนไลน์ ด้วย Quizizz จำนวน 5 ระดับ
ใช้เฟซบุ๊กกรุ๊ป เป็นห้องเรียนออนไลน์
การวัดและประเมินผล
นวัตกรรมการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จำนวนเต็ม ใช้รูปแบบการทดลองแบบ One-Group Posttest only Design
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. กิจกรรมก่อนเข้าชั้นเรียน
นักเรียน : ศึกษาบทเรียนปฏิสัมพันธ์ด้วย Edpuzzle จำนวน 24 ตอน
2. กิจกรรมในชั้นเรียน
นักเรียน : กิจกรรมปฏิบัติการณ์ทางคณิตศาสตร์
3. กิจกรรมหลังสิ้นสุดบทเรียน
นักเรียน : แบบทดสอบออนไลน์ ด้วย Quizizz
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1. ในการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านนั้น ควรอธิบายรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนก่อนเพื่อให้การจัดการเรียนรู้ดำเนินไปการตามแผนที่วางไว้
2. ในการทำใบกิจกรรมและใบงาน โจทย์ไม่ควรยากเกินไป เนื่องจากจะทำให้นักเรียนกลุ่มอ่อนรู้สึกท้อแท้ไม่อยากทำ
|