[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
ไข่มุก อินทรานุสรณ์


ชื่อนวัตกรรม
ชุดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ สะกดเป็น
         innovation | แชร์  เข้าชม 5076
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2561
ชื่อผู้พัฒนา ไข่มุก อินทรานุสรณ์
หน่วยงาน อนุบาลลานสัก   สังกัด   สพป.อุทัยธานี เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
บทนำ

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวดที่ 4 มาตรา 22 ได้เน้นถึงการเรียนการสอนที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์เป็น กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ
เต็มศักยภาพและมาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ กำหนดให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้ ข้อ 2 “ จัดกระบวนการเรียนรู้โดย ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา” ข้อ 3 “จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและ
เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548 : 4)
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) กำหนดว่า “ให้พัฒนา
รอบด้าน ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ เป็นการปฏิบัติในสภาพที่เป็นจริง รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาตนเอง ” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548 : 4)
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ทำให้สื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี และสุนทรียภาพโดยบันทึกเป็นวรรณคดีอันล้ำค่า ควรแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์สืบสานให้คงอยู่
คู่ชาติไทยตลอดไป ภาษาไทยจึงมีความสำคัญ จำเป็นที่คนไทยทุกคนจะต้องศึกษาจนเกิดทักษะเพื่อให้ติดต่อระหว่างชนในชาติ ภาษาเป็นสื่อของความคิด และความคิดที่มีคุณภาพย่อมเกิดจากความคิดที่เป็นกระบวนการ นั่นคือ ผู้คิดต้องมีทักษะการคิดหรือกระบวนการคิด ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะที่ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การฟังและการอ่านเป็นทักษะการรู้เรื่องราว ส่วนการพูดและการเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ การฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ภาษาได้อย่างมีคุณภาพ (กรมวิชาการ, 2546 : 181)
เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้พัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศที่มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานด้านผู้เรียน ในมาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์
คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดเกณฑ์การจบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เกณฑ์ที่ 2 ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนได้ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด จุดหมายของหลักสูตร ข้อ 2 มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน และรักการศึกษาค้นคว้า ข้อ 4 มีทักษะกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การแก้ปัญหาและทักษะใน การดำรงชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545 : 18)

ผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบนักเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำ ก็พบปัญหา คือ นักเรียนสะกดคำไม่ได้และจำสระในภาษาไทยไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถอ่านได้ เนื่องจากนักเรียนยังขาดทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ทำให้นักเรียนอ่านหนังสือไม่ได้ อ่านหนังสือไม่คล่อง อ่านสะกดคำไม่เป็นและเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จึงได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี หลักการ สภาพปัญหาและหาวิธีที่จะแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนอนุบาลลานสัก โดยใช้ ชุด “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ สะกดเป็น” ที่ผู้ศึกษาเห็นความสำคัญของการสอนแบบสะกดคำ เมื่อนักเรียนสะกดคำเป็นแล้วนักเรียนจะสามารถอ่านได้จึงเกิด “ชุดนวัตกรรมการอ่านได้ สะกดเป็น” ขึ้น ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ และจัดทำขึ้นเป็นชุด “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้สะกดเป็น” เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ทักษะในการสื่อสาร นำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เนื่องจากภาษาไทยเป็นหัวใจของทุกวิชา และเพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

วัตถุประสงค์เฉพาะ
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้ชุด “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ สะกดเป็น” นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนอนุบาลลานสัก ปีการศึกษา 2561
2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ โดยใช้ชุด นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้สะกดเป็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ให้สูงขึ้น
3. เพื่อแก้ไขปํญหาด้านการอ่านและเตรียมความพร้อมในการอ่านคล่องเขียนคล่อง ในระดับต่อไป

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
1. ใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ
2. การเสริมแรงระหว่างปฏิบัติกิจกรรม คำยกย่องชมเชย การให้คะแนน
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย

สื่อและแหล่งเรียนรู้
ชุดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ สะกดเป็น
การวัดและประเมินผล
การศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยดำเนินการจัดกระทำกับข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ยและร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบการอ่าน ชั้น ป.2ก่อนเรียนและหลังเรียนและวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ สะกดเป็น
การดำเนินการทดลองครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการทดลองสอนด้วยตนเองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนอนุบาลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 28 คน
โดยมีขั้นตอนการดำเนินการทดลอง ดังนี้
2.1 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน (Pre – test) ด้วยแบบทดสอบการอ่าน ชั้น ป.2
2.2 ดำเนินการสอนควบคู่กับแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
2.3 เมื่อดำเนินการสอนครบทุกแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว ทำการทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post – test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ร้อยละ (Percentage) ใช้สูตรดังนี้ (บุญชมศรีสะอาด. 2543: 101)

P 100

เมื่อ P แทน ร้อยละ
F แทนความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ
N แทนจำนวนความถี่ทั้งหมด
1.2 ค่าเฉลี่ยใช้สูตรดังนี้ (บุญชมศรีสะอาด, 2545, 102)



เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ย
X แทนผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม
1.3 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้สูตรดังนี้ (บุญชมศรีสะอาด, 2545, 103)

S.D. =
เมื่อ S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X2 แทน ผลรวมของคะแนนยกกำลังสอง
(X)2 แทน กำลังสองของคะแนนผลรวม
N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด


บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้จัดทำได้เลือกใช้ “ชุดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ สะกดเป็น” เพื่อใช้ในพัฒนาการอ่านและเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับหลักการจุดมุ่งหมาย โครงสร้าง ความสำคัญ ธรรมชาติ ลักษณะเฉพาะ วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดเวลาเรียน คุณภาพของผู้เรียน สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (กรมวิชาการ. 2544 ข : 1 – 34)
1.2 ศึกษาวิเคราะห์เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 3 เพื่อกำหนดเนื้อหาการสอน มาตรฐานการปฏิบัติ และเป็นแนวทางการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียน ให้บรรลุตามผลการเรียนรู้ และใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพของการจัดการศึกษา (กรมวิชาการ. 2544 ก : 12)
1.3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ มาตรฐาน
การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ (กรมวิชาการ. 2544 ก : 7 – 10) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 3
1.4 ศึกษาเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำที่ถูกต้องตามรูปแบบการอ่านและเขียนคำ (คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกรูปสะกดคำ สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. พ.ศ.2559 )
ผู้ศึกษาดำเนินการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้
2.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
2.2 ศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จากแนวการจัด
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
2.3 ศึกษาสาระการเรียนรู้รายปี และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ชั้นประถมศึกษาปีที่
1 – 6 ) จากแนวการจัดสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
2.4 ศึกษาวิธีการ หลักการ ทฤษฎี และเทคนิควิธีการสร้าง แบบฝึกทักษะภาษาไทย จาก
เอกสารต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.5 สร้าง“ชุดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้สะกดเป็น”ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2.6 นำ“ชุดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ สะกดเป็น”มาทดลองใช้
2.7 หลังจากทดลองใช้“ชุดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ สะกดเป็น”คู่กับแผนการจัดการเรียนรู้เสร็จสิ้นแล้ว นำแบบทดสอบชุดเดิมกับก่อนเรียนมาทำการทดสอบหลังเรียนอีกครั้ง แล้วนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หมายถึง คะแนนของกระบวนการเรียนต่อคะแนนสอบหลังเรียน
80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยร้อยละของประสิทธิภาพของกระบวนการ
80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยร้อยละของการทดสอบหลังเรียน



ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ข้อเสนอแนะ

การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษาะการอ่านและสะกดคำโดยใช้ชุดนวัตกรรมการอ่านได้ สะกดเป็น เป็นการเรียนรู้ที่เป็นการนำสีเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหารการจำสระของนักเรียน ทั้งนี้ยังทำให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียน นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้มากขึ้นลดปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ที่มีสาเหตุจากการจำสระไม่ได้ ทำให้นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำได้และยังทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยที่จัดการเรียนการสอนในชั่วโมงปกติมีประสิทธิภาพมากขึ้นและดำเนินไปอย่างราบรื่น



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883