|
ประเภทนวัตกรรม
การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา
2557
ชื่อผู้พัฒนา
รัศมี อ่วมน้อย
หน่วยงาน
โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง สังกัด สพป.กำแพงเพชร เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
2. การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
3. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
4.การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning)
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
2. เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดย
2.1 เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
2.2ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
2.3ศึกษาระดับความสุขในการเรียนรู้หลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย(Research : R) เพื่อการสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D) เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรม และแผนการจัดประสบการณ์จำนวน 15หน่วยการเรียนรู้
2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่มีคำถามเป็นรูปภาพเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 3 ตัวเลือกมีเกณฑ์การให้คะแนน คือ ตอบถูกให้ 1 คะแนนตอบผิดให้ 0 คะแนนจำนวน 20 ข้อ
3. แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมที่บ่งชี้คุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์โดยครูผู้สอนเป็นผู้สังเกต และแบบประเมินตนเองวัดพฤติกรรมที่บ่งชี้คุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์จำนวน 6 ด้าน คือสนใจใฝ่รู้ความมุ่งมั่นมีระเบียบและรอบคอบความมีเหตุผลความใจกว้างและความซื่อสัตย์
4. แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ เป็นแบบสอบถามความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและใจต่อการทำกิจกรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อคำถามและให้นักเรียนตอบจากภาพใบหน้า 3 แบบ ที่ตรงกับความคิด ความรู้สึกของนักเรียนมากที่สุด
การวัดและประเมินผล
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนจนได้กิจกรรมจำนวน 15 หน่วยการเรียนรู้และพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆของกิจกรรมพบว่ากิจกรรมทั้ง 15 หน่วยการเรียนรู้โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.29/84.00
2. ผลการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีผลคือ
2.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบว่าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ผลการศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2.3 ผลของระดับความสุขในการเรียนรู้หลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. การนำกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนนั้น ครูควรศึกษาคู่มือครูสำหรับการจัดการเรียนรู้ให้ละเอียดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. ระหว่างการใช้กิจกรรมครูควรทำความเข้าใจกับนักเรียน และระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมครูควรให้คำแนะนำกับนักเรียนเป็นระยะเพื่อคอยกระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิดและเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่จากคำถามของครู
3. การใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนพ่อแม่ผู้ปกครองและเพื่อนควรมีส่วนช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็กด้วย
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเป็นการจัดกิจกรรมที่มีขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ฉนั้นต้องจัดกิจกรรมตามขั้นตอน เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย
|