[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
กรรณิกา ขุขันธิน


ชื่อนวัตกรรม
รูปแบบการสอนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในท้องถิ่นที่พูดภาษาเขมร ลาว ส่วย เยอ จังหวัดศรีสะเกษ
         innovation | แชร์  เข้าชม 1259
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2553
ชื่อผู้พัฒนา กรรณิกา ขุขันธิน
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1.   สังกัด   สพป.ศรีสะเกษ เขต 1
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การเรียนรู้สิ่งที่ไม่รู้จากสิ่งที่รู้การใช้สิ่งที่รู้อยู่แล้วเป็นฐานสำหรับสร้างความรู้ใหม่ ๆ โดยเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัว ไปสู่สิ่งที่ไกลตัวออกไปหรือสิ่งที่ไม่รู้จักไปทีละขั้น ๆ จากภาษาที่บ้านไปสู่ภาษาโรงเรียน จากภาษาพูดไปสู่ภาษาเขียน จากภาษาท้องถิ่นที่ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วไปสู่ภาษาราชการหรือภาษาใหม่ที่ไม่คุ้นเคย มีหลักการ ดังนี้
1. เน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้านภาษา โดยให้ผู้เรียนใช้ทั้ง 2 ภาษา
คือภาษาบ้าน/ภาษาท้องถิ่น และภาษาไทยได้อย่างดีและใช้ได้อย่างมั่นใจทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน
2.เน้นความถูกต้องของภาษาและความหมายไปด้วยกัน
3.เน้นการสื่อสาร 2 ระดับ ได้อย่างมั่นใจทั้งสองภาษา
4.เน้นความรู้เดิม เพื่อเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาไปสู่ความรู้ใหม่ ความรู้เดิมคือท้องถิ่น ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ และผู้คนในชุมชน

วัตถุประสงค์เฉพาะ
1.เพื่อให้นักเรียนอ่าน เขียน คำพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามระดับชั้น
2.ให้นักเรียนใช้ภาษาได้อย่างมั่นใจในการพูดอ่านเขียนภาษา
ของตนเองและภาษากลาง
3.เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ
ได้อย่างดี รวดเร็ว และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนได้นาน
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้สาระวิชาต่างๆ และต่อเนื่องไปในระดับสูงตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
1) การนำรูปแบบไปใช้
1. ประชุมปฏิบัติการครู เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้รูปแบบการเรียนการสอน
2. พัฒนาครูให้สามารถจัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่านที่สดอดคล้อง
กับท้องถิ่น สำหรับนักเรียนในท้องถิ่น
3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเป็นสื่อ
4. ประเมินผลโดยครูผู้สอน
5. นิเทศติดตามผล โดยศึกษานิเทศก์
2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู
1. ครูแนะนำเรื่องที่อ่านโดยให้นักเรียนดูภาพหน้าปกและสนทนาเกี่ยวกับภาพหน้าปก พร้อมทั้งถามนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน
2. ครูให้นักเรียนดูภาพและพูดคุยเกี่ยวกับภาพ หลังจากนั้นครูอ่านเรื่องให้นักเรียนฟังที ละหน้า
3. ครูอ่านเรื่องทั้งหมดให้นักเรียนฟังอีกครั้ง โดยไม่ต้องให้นักเรียนพูดเกี่ยวกับรูปภาพ
4. หลังจากที่ครูอ่านเรื่องจบแล้ว ครูให้นักเรียนเล่าเรื่องโดยใช้ภาษาตามความเข้าใจของตนหรือครูตั้งคำถาม เช่น ชอบเรื่องนี้หรือไม่ เพราะอะไร เป็นต้น
5.ครูสอนคำศัพท์ใหม่
6. ครูอ่านเรื่องพร้อมนักเรียน/อ่านพร้อมกัน
7. ครูสุ่มนักเรียนให้อ่านเอง (โดยให้นักเรียนเลือกอ่านหน้าใดก็ได้)
8. ครูอ่านพร้อมกับนักเรียนทั้งห้อง
9. ครูให้นักเรียนคิดเรื่องที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ (Theme) หรือเรื่องที่ใกล้เคียงกับเรื่องที่ครูเล่า
10. ครูแจกกระดาษให้นักเรียนทุกคน
11. ครูให้นักเรียนเขียนเรื่องราวของตนเองในกระดาษ
ซึ่งนักเรียนสามารถเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือรูปตามจินตนาการของตนเองก็ได้
12. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แล้วให้นักเรียนเล่าเรื่องของตนเองให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง
13. ถ้ามีเวลาครูให้นักเรียนออกมาเล่าเรื่องของตนเองหน้าชั้น
14. ครูสรุปบทเรียนทบทวนเรื่องทักษะทางภาษา การอ่านและการเขียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
คู่มือการนิเทศการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น ป. 3 ในท้องถิ่นที่พูดภาษาเขมร ลาว ส่วย เยอ จังหวัดศรีสะเกษ
การวัดและประเมินผล
การวัดผลประเมินผลความรู้ความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน โดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบประเมินที่เป็นแบบฝึกหัดท้ายหนังสือส่งเสริมการอ่านและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย จัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการสอนตามขั้นตอน


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883