|
ประเภทนวัตกรรม
การประเมินผล
ปีที่พัฒนา
2555
ชื่อผู้พัฒนา
กาญจนา จิตรสำรวย
หน่วยงาน
สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 สังกัด สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การประยุกต์ใช้เทคนิคการนิเทศที่หลากหลาย ได้แก่การนิเทศแบบกัลยาณมิตร การให้คำปรึกษาแนะนำ การเปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การเสริมสร้างขวัญกำลังใจใน
การปฏิบัติงาน และส่งเสริมความสามารถในการนำตนเองเพื่อให้ครูได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
และสามารถปฏิบัติงานด้านการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ และสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่ออบรมครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
1. ผู้นิเทศเขียนคู่มือการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ 1 เล่ม ตัวอย่างหนังสือเสริมประสบการณ์ 1 ชุด 9 เล่ม และเขียนคู่มือการนิเทศ
2. เพื่อวางแผนการนิเทศให้ครูสามารถจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
3. เพื่อประเมินสมรรถนะครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ ด้านความรู ทักษะและเจตคติ
4. เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้หนังส่งเสริมประสบการณ์
5. เพื่อเปิดโอกาสให้ครูนำเสนอผลการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ และผลการสอนทักษะการอ่านการเขียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์
6. เพื่อให้ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาผลงานซึ่งกันและกัน เพื่อปรับปรุงพัฒนา เติมเต็มผลงานการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมีคุณภาพมากขึ้น
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศพัฒนาครูในการจัดทำหนังสือเสริม
ประสบการณ์
ขั้นตอนที่ 3 การนำรูแบบการนิเทศพัฒนาครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ไปใช้
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการนิเทศ
ขั้นตอนที่ 5 การเผยแพร่รูปแบบการนิเทศ
ขั้นตอนการนิเทศก์
ด้วยรูปแบบการนิเทศ แบบ 6Ss Kanjana Supervisory Model 6Ss Kanjana Supervisory Model ประกอบด้วย
Scan
Set Innovation
Set the Plan
System
1. เทคนิคการนิเทศของชารี มณีศรี
1.1เทคนิคเสนอแนะ
1.2เทคนิคการสาธิต
1.3เทคนิคชวนพาที
2. Coaching
3. Mentoring
4. การประชุม
5. การให้คำปรึกษา
6. การนิเทศแบบมนุษยสัมพันธ์
7. การนิเทศทางไกล
Summative
‘Share and Cheer
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. แบบตรวจสอบสื่อประเภทคู่มือในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
2. แบบตรวจสอบคุณภาพสื่อประเภทตัวอย่างหนังสือเสริมประสบการณ์
3. แบบตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศ
4. แบบตรวจสอบแผนการนิเทศ
5. คู่มือการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
6. ตัวอย่างหนังสือเสริมประสบการณ์
7. แบบประเมินความรู้ของครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
8. แบบประเมินทักษะของครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
9. แบบวัดเจตคติของครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
10. แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการสอน
11. แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ
12. ประเด็นสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันผลการนิเทศ
การวัดและประเมินผล
1. ประเมินผลของรูปแบบการนิเทศเพื่อยืนยันของการนำไปใช้จากครูผู้รับการนิเทศ โดยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ
2. สังเคราะห์ข้อมูลและปรับปรุงรุปแบบการนิเทศให้เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
มีการติดตามผลกลุ่มครูผู้เข้ารับการนิเทศตามรูปแบบนี้เพื่อติดตามผลbการนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติจริงและมีผลงานอย่างต่อเนื่อง
กำหนดระยะเวลาในการนิเทศ ให้เหมาะสมกับสาระและกิจกรรมตามสภาพพื้นที่ฐานของ
ผู้เข้ารับการนิเทศ
การนิเทศตามรูปแบบนี้ ควรใช้เวลาช่วงปิดภาคฤดูร้อน เนื่องจากเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ต้องอาศัยระยะเวลาฝึกต่อเนื่อง 2 เดือน
การนำรูปแบบการนิเทศนี้ไปใช้ที่อื่น ควรมีการศึกษาข้อมูลด้านบริบทเพิ่มเติมก่อนแล้วจึงนำผล
ที่ศึกษาได้ไปรับใช้ให้เหมาะสม
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1. ก่อนนำรูปแบบการนิเทศไปใช้ควรศึกษาจุดประสงค์ ปรับเนื้อหา กิจกรรมและสื่อการนิเทศ ให้สอดคล้องกับสภาพของกลุ่มเป้าหมาย
2. ศึกษารูปแบบการนิเทศให้ละเอียด ชัดเจน เพื่อนำไปปฏิบัติให้เหมาะสม
3. ผู้เข้ารับการนิเทศ ควรเป็นครู ที่มีความสมัครใจ เสียสละ กระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
4. วิทยากรและผู้ให้การนิเทศ ควรเป็นผู้มีประสบการณ์ทั้งด้านการสอนการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ และการวิจัย
5. วางแผนดำเนินการนิเทศให้เหมาะสม ทั้งการจัดเตรียมสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
มีบุคลากรที่คอยอำนวยความสะดวก ให้ผู้เข้ารับการนิเทศ เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
6. ระยะเวลาในการนิเทศ ควรปรับให้เหมาะสมกับสาระและกิจกรรมตามสภาพพื้นที่ฐานของ
ผู้เข้ารับการนิเทศ
7. การนิเทศตามรูปแบบนี้ ควรใช้เวลาช่วงปิดภาคฤดูร้อน เนื่องจากเป็นการฝึกอบรม
เชิงปฏิบัติการ ที่ต้องอาศัยระยะเวลาฝึกต่อเนื่อง 2 เดือน
8. การนำรูปแบบการนิเทศนี้ไปใช้ที่อื่น ควรมีการศึกษาข้อมูลด้านบริบทเพิ่มเติมก่อนแล้วจึงนำผลที่ศึกษาได้ไปรับใช้ให้เหมาะสม
|