[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางมาลี พิณสาย. (2556). รายงานการประเมินโครงการการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
 
  เข้าชม 2,157 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
รายงานฉบับนี้ อาศัยแนวคิดวิธีวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) เพื่อประเมินโครงการการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) คือ CIPP Model ร่วมกับรูปแบบการประเมินของเคริกแพตทริก (Kirkpatrick) ในการประเมินผลผลิต โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังนี้ 1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) โดยพิจารณาความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพิจารณาความเป็นไปได้ของเป้าหมายโครงการการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โดยพิจารณาความพร้อม และความเหมาะสมของปัจจัยหรือทรัพยากรในการดำเนินโครงการการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โดยพิจารณาความเหมาะสมของ การปฏิบัติงานโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับโรงเรียน 4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โดยพิจารณาผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อนและหลังของผู้เข้ารับการอบรมแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในโครงการการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการ ผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนานวัตกรรม ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการอบรม นักเรียน ที่มีต่อครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรม การประเมินตนเองก่อนและหลังการอบรม การปฏิบัติงานของครูผู้สอนเกี่ยวกับการผลิตสื่อและการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน การปฏิบัติงานของครูผู้สอนเกี่ยวกับ การจัดทำวิจัยในชั้นเรียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนกับครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรม 5. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงานโครงการการพัฒนานวัตกรรม การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 10 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 145 คน ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำนวน 145 คน และนักเรียน จำนวน 725 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 12 ฉบับ แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม 1 ฉบับ และ แบบติดตามโครงการ 1 ฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการเก็บข้อมูล ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินการ และเมื่อสิ้นสุดโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows V.15
2. วัตถุประสงค์
-
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
-
เครื่องมือที่ใช้
-
ช่วงเวลาการทดลอง
-
การวิเคราะข้อมูล
-
5. ผลการวิจัย
1. ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า
1.1 ความสอดคล้อง ระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเป็นไปได้ของเป้าหมายโครงการ มีความชัดเจนอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความพร้อม และความเหมาะสมของปัจจัยหรือทรัพยากร
ในการดำเนินโครงการ มีความพร้อมและความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านประเมินกระบวนการ พบว่า ความเหมาะสมของการปฏิบัติงานโครงการ
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิตของโครงการสรุปได้ ดังนี้
4.1 คะแนนของผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนหลังการอบรม สูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 ความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลการนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนานวัตกรรม พบว่า ผู้บริหารหรือครูผู้สอน สามารถพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ผ่านเกณฑ์การประเมินนวัตกรรม จำนวน 96 โรงเรียน จากทั้งหมด 145 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 66.21 และส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอน
4.4 ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการอบรม ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรม ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด
4.6 การประเมินตนเองก่อนและหลังการอบรม ด้านความรู้ความเข้าใจและการนำไปใช้ หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมทุกรายการ
4.7 การปฏิบัติงานของครูผู้สอนเกี่ยวกับการผลิตสื่อและการใช้สื่อประกอบการเรียน การสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.8 การปฏิบัติงานของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด
4.9 พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนกับครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเนินงานโครงการ
การประชาสัมพันธ์โครงการในระดับโรงเรียนไม่ทั่วถึง ผู้บริหารให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการค่อนข้างน้อย จึงส่งผลให้นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการมีน้อย การอบรมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ควรจัดกิจกรรมให้ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติจริง และควรดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาครูผู้สอนให้มีศักยภาพ และนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานโครงการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ สนับสนุนงบประมาณ สร้างขวัญกำลังใจที่ดี ส่งเสริมการส่งนวัตกรรมเข้าร่วมประกวด มีการนิเทศ ติดตาม เพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง

6. การใช้ประโยชน์
-

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883