[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางสาวกุลธิดา สุวัชระกุลธร. (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้คำถามทรงพลัง (powerful questioning) เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
 
  เข้าชม 1,309 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้คำถามทรงพลัง เรื่อง เสียง ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้หรือไม่ อย่างไร 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาฟิสิกส์3 รหัสวิชา ว30203 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้คำถามทรงพลัง เป็นอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้คำถามทรงพลัง เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาฟิสิกส์3 รหัสวิชา ว30203 ให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้คำถามทรงพลัง เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาฟิสิกส์3 รหัสวิชา ว30203 ให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 70 ขึ้นไป

3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่เรียนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม3 รหัสวิชา ว30203 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 35 คน ประกอบด้วยนักเรียนชาย 13 คน นักเรียนหญิง 22 คน โดยคละความสามารถ ซึ่งเป็นห้องที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้
เครื่องมือที่ใช้
1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้คำถามทรงพลัง (powerful questioning) จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ ระยะเวลา 14 คาบเรียน
2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล ได้แก่ แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูร่วมเรียนรู้ (Buddy Teacher)
3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เสียง
ช่วงเวลาการทดลอง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
การวิเคราะข้อมูล
รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีดังนี้
1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำมารายงานผลในลักษณะของการบรรยาย โดยรวบรวมจากแบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของครู แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียนผ่านกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยครูผู้ร่วมเรียนรู้ ซึ่งจะนำข้อมูลที่ได้มาประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่ามีข้อบกพร่อง ปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้างแล้วหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขในวงจรต่อไป
2. ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละจากแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เสียง แล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป

5. ผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสมัฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เสียง รายวิชาฟิสิกส์3 รหัสวิชา ว30203 โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้คำถามทรงพลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 70 ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป ผลการวิจัย พบว่า
1. จากการทำแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มที่ศึกษา จำนวน 35 คน พบว่า นักเรียน ผ่านเกณฑ์จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 74.28 และมีผลคะแนนเฉลี่ยการวัดความคิดสร้างสรรค์ 15.6 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 35 คน พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 82.86 และมีผลคะแนนเฉลี่ยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 15.6 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 78.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

6. การใช้ประโยชน์
การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เสียง ในการศึกษาครั้งต่อไป อาจศึกษาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในหน่วยอื่น ๆ เพื่อให้สามารถนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่อไป

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883