[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
นายณัฐวุฒิ ใจแน่น


ชื่อนวัตกรรม
นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code)
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | เว็ปไซด์อ้างอิง| แชร์  เข้าชม 865
ประเภทนวัตกรรม สื่อการเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2563
ชื่อผู้พัฒนา นายณัฐวุฒิ ใจแน่น
หน่วยงาน โรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา   สังกัด   สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
ผู้จัดทำเห็นความสำคัญของการศึกษาพุทธประวัติ ผู้จัดทำจึงได้คิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหา และได้จัดทำนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) ขึ้นซึ่งเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติให้มีความกระชับ เข้าใจง่าย และมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนในยุคปัจจุบัน รวมถึงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรงติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 นวัตกรรมสามารถช่วยให้การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อยและเหมาะสม โดยจะส่งผลให้ผู้เรียนและผู้ที่มีความสนใจเรื่องพุทธประวัติหรือประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธ มีความเข้าใจในเนื้อหาพุทธประวัติ และง่ายต่อการศึกษามากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อสร้าง และพัฒนานวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code)
2. เพื่อนำนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน
3. เพื่อพัฒนาผลสัมฤธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระชั้นประถมศึกษาปีที่5 ในรายวิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม เรื่องพุทธประวัติให้สูงขึ้น

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) มีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่1 สร้าง และพัฒนานวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code)
ระยะที่2 นำนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ระยะที่1 สร้าง และพัฒนานวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code)
4.1 ศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหา
ครูผู้สอนได้ดำเนินการศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหาของกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยเฉพาะสาระที่1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม เรื่องพุทธประวัติ จนทำให้ทราบถึงความเป็นมาและสภาพปัญหาที่ส่งผลให้ครูผู้สอนได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา จนนำมาสู่การดำเนินการในครั้งนี้
4.2 คิดค้นนวัตกรรม
ครูผู้สอนได้ศึกษาเอกสาร ตำรา เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม เพื่อถอดบทเรียนในการนำองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมมาใช้ในการออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่พบจึงนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code)
4.3 การออกแบบนวัตกรรมและจัดทำนวัตกรรม
หลังจากครูผู้สอนได้ศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหา จนทำให้ทราบถึงต้นตอของปัญหา และได้ศึกษาเอกสาร ตำรา เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม เพื่อถอดบทเรียนในการนำองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมมาใช้ในการออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ขึ้น จึงได้ออกแบบนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) เมื่อออกแบบนวัตกรรมเรียบร้อย ครูผู้สอนจึงได้ลงมือจัดทำนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) ขึ้นจนสำเร็จพร้อมที่จะนำไปใช้กับผู้เรียน
ระยะที่2 นำนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
4.4 นำนวัตกรรมไปทดลองใช้
เมื่อออกแบบและจัดทำนวัตกรรมเสร็จเรียบร้อย ครูผู้สอนจึงนำเครื่องมือ หรือนวัตกรรมที่ได้ไปทดลองใช้กับผู้เรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 เพื่อวิเคราะห์ถึงข้อดี-ข้อเสีย และสิ่งที่ต้องปรับปรุงเมื่อนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้จริง หลังจากทดลองใช้ครูผู้สอนจึงนำผลจากการทดลองใช้นวัตกรรมไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในลำดับต่อไป
4.5 ปรับปรุงแก้ไขหลังทดลองใช้นวัตกรรม
ครูผู้สอนนำนวัตกรรมมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นหลังจากการทดลองใช้เพื่อให้มีความเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนในปัจจุบันและเหมาะสภาพปัญหา

4.6 นำนวัตกรรมไปสู่ห้องเรียน
นำนวัตกรรมหลังจากการปรับปรุงแก้ไขไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 พร้อมวิเคราะห์การใช้นวัตกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลว่ามีความสอดคล้อง ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
4.7 ประเมิน/สรุปผล
หลังจากการนำนวัตกรรมไปใช้จริงในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม เรื่องพุทธประวัติ ครูผู้สอนได้ดำเนินการวัดและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลการทดสอบก่อนเรียนหรือก่อนใช้นวัตกรรม และหลังเรียนหรือภายหลังการนำนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) ไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ทำให้ทราบถึงข้อแต่งต่างและความเป็นไปได้ในการนำนวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม เรื่องพุทธประวัติ ให้ดีขึ้นและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
4.8 รายงานผลการดำเนินการ
หลังจากประเมินผลการใช้นวัตกรรมในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อหาคุณภาพของนวัตกรรม ทำให้ทราบถึงข้อแตกต่างในการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบเดิมคือผู้เรียนท่องจำประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธตามแบบเรียนซึ่งมีเนื้อหาจำนวนมาก และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ใช้นวัตกรรมการสอนพุทธประวัติแสนง่ายผ่านTimeline ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) พร้อมขยายผลการนำนวัตกรรมไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม เรื่องพุทธประวัติ ในระดับชั้นอื่นๆ และปรับใช้กับรายวิชาอื่นๆต่อไป

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.โรงเรียนหนองอิเฒ่าวิทยา สังกัด สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
2. https://pubhtml5.com/bookcase/royg?fbclid=IwAR01nFO1SmEvttthc6ecK33m5zZYky1b5c3Bqp8oN3e4niVet6YrNllhzXU
3. https://www.kroobannok.com/90389
การวัดและประเมินผล
1. แบบทดสอบก่อนใช้นวัตกรรม - หลังใช้นวัตกรรม
2. ใบกิจกรรมประกอบการใช้นวัตกรรม
3. การสร้างแผนผังTimeline พุทธประวัติ
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
บทบาทศึกษานิเทศ : ขยายผลและแนะนำการใช้นวัตกรรมให้กับสถานศึกษาอื่นที่มีความสนใจ
บทบาทครู : นำนวัตกรรมไปใช้กับผู้เรียนในรายวิชาสังคมศึกษาฯเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
บทบาทนักเรียน : นำนวัตกรรมไปใช้ในการศึกษาเรื่องพุทธประวัติเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรงติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
-


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883