[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


นายสมศักดิ์ โกฐาคาน


ชื่อนวัตกรรม
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online) วิชาสังคมศึกษา พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
         innovation | แชร์  เข้าชม 2182
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2563
ชื่อผู้พัฒนา นายสมศักดิ์ โกฐาคาน
หน่วยงาน โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม   สังกัด   สพม.ปทุมธานี
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สอนให้นักเรียนเป็นคนดีมีศีลธรรม เป็นผู้ประพฤติตนในสังคม และปฏิบัติตนได้ตามกฎหมายของบ้านเมือง รอบรู้ทิศทางการเดินทางทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดได้ เป็นเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยทั้งสมัยก่อนสุโขทัย สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน และยังเป็นผู้รู้เกี่ยวกับการซื้อการขายในตลาดอีกด้วย ผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online) วิชาสังคมศึกษา พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online) ของโรงเรียนต่อไป
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online) วิชาสังคมศึกษา พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาตำราและเอกสารประกอบการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 20 ข้อ
ขั้นตอนที่ 2 แผนผังการสร้างแบบทดสอบหรือตารางวิเคราะห์หลักสูตร (table of specification)
ขั้นตอนที่ 3 สร้างแบบสอบให้สอดคล้องกับแผนผังในตารางวิเคราะห์หลักสูตร
ขั้นตอนที่ 4 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นให้อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ ตรวจสอบ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข พัฒนาเป็นแบบทดสอบฉบับร่าง
ขั้นตอนที่ 5 นำแบบทดสอบที่ปรับปรุงแล้วจำนวน 20 ข้อ พร้อม ตารางแผนผังการสร้างแบบสอบวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และแบบตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคำถามกับพฤติกรรมด้านความรู้-ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ และการวิเคราะห์ ความตรงตามเนื้อหา (content validity) และความถูกต้องชัดเจนของภาษา
ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการปรับปรุงแบบสอบฉบับร่างจากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญได้แบบทดสอบที่มีค่าความสอดคล้อง จำนวน 20 ข้อ แล้วนำไปทดลองใช้ (try out) กับนักเรียนจำนวน 45 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ขั้นตอนที่ 7 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบตามผลการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 6 เพื่อให้มีคุณภาพเหมาะสมต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำไปทดลองใช้ครั้งที่ 2 (try out) กับนักศึกษาจำนวน 45 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จึงพัฒนาเป็นแบบทดสอบฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้งานจริงแสดงผลการวิเคราะห์รายข้อในภาคผนวก

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. สร้างแบบทดสอบให้ครอบคลุมเรื่องที่จะศึกษา นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence: IOC) โดยกำหนดคะแนน ดังนี้
ถ้าเห็นว่าสอดคล้อง ให้คะแนน +1
ถ้าเห็นว่าไม่แน่ใจ ให้คะแนน 0
ถ้าเห็นว่าไม่สอดคล้อง ให้คะแนน -1
ถ้าค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ถือว่าข้อคำถามอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ ถ้าต่ำกว่านั้นจะนำมาปรับปรุงแก้ไขผลปรากฏว่าใช้ได้ 20 ข้อ ของค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.5 กับ 1.00
2. นำแบบทดสอบที่แก้ไขปรับปรุงแล้วไปทดลอง (Try out) กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริงจำนวน 45 คน จากนั้นนำมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’Alpha coefficient)

การวัดและประเมินผล
-วัดจากเเบบทดสอบ
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
ครูผู้จัดทำวิจัย นักเรียนคือกลุ่มวิจัย
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
-


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883