[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


นางสาวชบา พันธุ์ศักดิ์ และคณะ


ชื่อนวัตกรรม
รูปแบบการนิเทศครูผู้สอนระดับปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | แชร์  เข้าชม 2918
ประเภทนวัตกรรม การนิเทศ
ปีที่พัฒนา 2561
ชื่อผู้พัฒนา นางสาวชบา พันธุ์ศักดิ์ และคณะ
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1   สังกัด   สพป.สุพรรณบุรี เขต 1
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
รูปแบบการนิเทศครูผู้สอนระดับปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่เป็นกระบวนการ คือ 1) การวางแผนการนิเทศ 2) การปฏิบัติการนิเทศ 3) การวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดประสบการณ์ 4) การประเมินผลการนิเทศ และ 5) การรายงานผลการนิเทศ ภายในแต่ละองค์ประกอบมีวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอนที่ผู้ใช้รูปแบบฯ สามารถนำไปปฏิบัติได้ ผลจากการนำรูปแบบการนิเทศฯ นี้ไปใช้ พบว่า ครูผู้สอนปฐมวัยสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กได้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้ในระดับดีมาก โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติและมีส่วนร่วม ครูมีการวางแผน จัดเตรียมสื่อ แนะนำสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เร้าความสนใจให้เด็กมีส่วนร่วมอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ และจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสนใจใฝ่เรียนรู้ ครูมีการตั้งคำถามเชื่อมโยงจากประสบการณ์เดิมของเด็ก มีการประเมินผลร่วมกันระหว่างครูและเด็ก และสรุปทบทวนผล
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อให้ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเป้าหมาย หลักการและวิธีการปฏิบัติ ที่เป็นแนวทางเดียวกันในการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
2. เพื่อนิเทศตามวิธีการและกิจกรรมการนิเทศที่กำหนด
3. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ แก้ไขข้อบกพร่อง และเติมเต็มประสบการณ์ให้แก่ผู้รับการนิเทศ
4. เพื่อกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติการนิเทศ การจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
5. เพื่อประเมินผลการดำเนินงานการนิเทศครูผู้สอนระดับปฐมวัยในการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
6. เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาปรับปรุงการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพ

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ใช้วิธีวิจัยแบบแผนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการนิเทศการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและหาคุณภาพรูปแบบการนิเทศครูผู้สอนระดับปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการนิเทศครูผู้สอนระดับ ปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. แบบสอบถามสภาพการนิเทศครูผู้สอนระดับปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
2. แบบประเมินตนเองในการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560
3. แบบสังเกตการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560

การวัดและประเมินผล
การประเมิน
ความสามารถของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กได้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
เครื่องมือประเมิน
1. แบบประเมินตนเองในการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560
2. แบบสังเกตการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
บทบาทศึกษานิเทศก์
ขั้นตอนที่ 1
1. สำรวจความต้องการจำเป็นและวิเคราะห์สภาพ
2. กำหนดปัญหาและความต้องการแล้วจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนา
3. สร้างการรับรู้ เป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ
4. กำหนดวิธีการนิเทศและกิจกรรมการนิเทศร่วมกันครูผู้รับการนิเทศ
5. จัดทำแผนการนิเทศ
ขั้นตอนที่ 2
1. สร้างความตระหนักและความเข้าใจ เกี่ยวกับแผนการนิเทศ
2. พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 แก่ครูผู้รับการนิเทศ
3. นิเทศด้วยวิธีการที่หลากหลาย
4. กระตุ้น จูงใจ เสริมสร้างกำลังใจ ให้คำแนะนำ
5. ให้ข้อมูลย้อนกลับ
6. สรุปผลการนิเทศร่วมกับครูผู้รับการนิเทศ
ขั้นตอนที่ 3
1. ทำความเข้าใจและตีความข้อมูลจากบันทึกการสังเกตที่ได้จากการเยี่ยมชั้นเรียน
2. บันทึกการตีความข้อมูล
3. ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้รับการนิเทศ
4. ร่วมกับผู้รับการนิเทศสรุปผลการจัดประสบการณ์ฯ
ขั้นตอนที่ 4
1. ประเมินผลก่อน ระหว่าง และหลังการนิเทศ อย่างเป็นระบบ
2. ตรวจสอบความสอดคล้องการนิเทศกับแนวทางการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฯ
3. สรุปอภิปรายผล วิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
ขั้นตอนที่ 5
1. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินการนิเทศครูผู้สอนระดับปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ
2. วางแผนและกำหนดปฏิทินการประเมินการนิเทศฯ
3. จัดทำเครื่องมือในการประเมินการนิเทศฯ
4. ประเมินการนิเทศฯ
5. รายงานผล
6. ปรับปรุงแก้ไขแผนการนิเทศและเผยแพร่
7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับผู้เกี่ยวข้อง

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
-


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883