|
ประเภทนวัตกรรม
สื่อการเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา
2556
ชื่อผู้พัฒนา
รัศมี อ่วมน้อย
หน่วยงาน
โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง สังกัด สพป.กำแพงเพชร เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546
2. แนวคิดการจัดกิจกรรมบูรณาการ
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและทักษะในศตวรรษที่ 21
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางภาษา
5. แนวคิดเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษากับเกณฑ์ร้อยละ 75
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ผู้วิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R) เพื่อพัฒนากิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษา
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษาเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย
สื่อและแหล่งเรียนรู้
สื่อชุดอาเซียนหรรษาคือ (1) หนังสืออาเซียนเล่มเล็ก (2) เพลงอาเซียน (3) เกมการศึกษาอาเซียน (4) หุ่นอาเซียน (5) ธงอาเซีย และ (6) ลูกเต๋าอาเซียน
การวัดและประเมินผล
ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยประเมินเด็กเป็นรายบุคคลกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน 3 ระดับ เรื่อง/ครั้งละ 4 ข้อ จำนวน 10 เรื่อง/ครั้ง รวมทั้งสิ้น 40 ข้อ
ผลการวิจัย พบว่าการเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านสื่อชุดอาเซียนหรรษากับเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการความสามารถทางภาษาคิดเป็นร้อยละ 75.00/76.19/76.78/76.78/77.83/78.57/79.16/79.76/80.95/82.14 ตามลำดับ มีคะแนนเฉลี่ยรวมคิดเป็นร้อยละ 78.21 ความสามารถทางภาษาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
ครูดำเนินการจัดกิจกรรมบูรณาการกับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 14 คน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง 10 ชั่วโมง
เด็กร่วมกิจกรรมตามตารางที่กำหนด
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
การจัดกิจกรรมบูรณาการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์และกิจกรรมเกมการศึกษา ครูผู้จัดกิจกรรมต้องคอยกำกับดูแลและให้ความช่วยเหลือเด็กเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือ เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ของการวิจัยและการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการความสามารถทางภาษาอย่างเต็มศักยภาพ
|