[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


สุดาพร พินิจมนตรี


ชื่อนวัตกรรม
รูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
         innovation | แชร์  เข้าชม 1147
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2553
ชื่อผู้พัฒนา สุดาพร พินิจมนตรี
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1   สังกัด   สพป.เลย เขต 1
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย เป็นการแสวงหาวิธีการ ขั้นตอน เทคนิคกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สามารถพัฒนานักเรียนเปลี่ยนแปลงนักเรียนให้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถในการอ่านการเขียนภาษาไทยดีขึ้น นักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการอ่านการเขียนภาษาไทยสูงขึ้น

วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ในการนำรูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไปใช้ครูผู้สอนควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดของรูปแบบการพัฒนา
2. ศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ให้เข้าใจ
3. ศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ในแผนการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และแบบฝึกทักษะ ให้เข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อสามารถจัดกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
4. ตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารประกอบการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และเอกสารอื่น ๆ ให้พร้อม
5. ก่อนจัดกิจกรรมต้องจัดลำดับสื่อการเรียนรู้ หรือเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตาม ลำดับขั้นตอนในแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ถูกต้องตามลำดับก่อนหลัง
6. ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรชี้แจงบทบาทและหน้าที่ของนักเรียน และกำหนด
ข้อตกลงร่วมกัน
7. ในคาบที่ 1 ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบที่เตรียมไว้ เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียน
8. ลำดับขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.8.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.8.2 ขั้นสอน
1.8.3 ขั้นสรุป
9. เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ครบทั้ง 10 แผนแล้ว ในคาบที่ 12 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย โดยใช้แบบทดสอบที่เตรียมไว้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อประเมินความรู้หลังการใช้รูปแบบการพัฒนา

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุดภาษาเพื่อชีวิต “ภาษาพาที” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
2. แผนภูมิเพลง
3. เกม “เรียงบัตรคำ”
4. แบบฝึกทักษะ
5. กระดาษ A 4

การวัดและประเมินผล
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนในชั้นเรียน (ความร่วมมือในการเล่นเกม การตอบคำถาม
การแสดงความคิดเห็น )
2. ตรวจแบบฝึกทักษะ
3. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ในการใช้เกมมาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ครูสามารถนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ จะทำให้นักเรียนสนใจมากยิ่งขึ้น
3. ในการเล่นเกมการแข่งขันครูควรสอดแทรกและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมอยู่เสมอ
4. ในการสอนเพลง ครูไม่ควรบังคับนักเรียนว่าจะต้องร้องให้ได้ทุกคน ควรดูตามความพร้อมของนักเรียน เพราะจะทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกต่อต้านได้
1.5 ควรเลือกเพลงที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับบทเรียน และมีทำนองที่คุ้นหู หรือเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย จะทำให้นักเรียนร้องได้เร็วและจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1 การพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย ต้องทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ต่อเนื่อง
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูผู้สอนภาษาไทยเพื่อสรรหานวัตกรรมและรูปแบบการพัฒนา เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
3.1 ควรศึกษาทดลองรูปแบบการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย ที่สามารถพัฒนานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเผยแพร่ต่อไป



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883