[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
ณิชา เทียมสุวรรณ


ชื่อนวัตกรรม
รูปแบบที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่าของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
         innovation | แชร์  เข้าชม 998
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2555
ชื่อผู้พัฒนา ณิชา เทียมสุวรรณ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านห่องขอน   สังกัด   สพป.อุบลราชธานี เขต 4
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่าของโรงเรียนประถมศึกษา
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องเสื่อใบเตยป่า ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
3) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อจากใบเตยป่า ด้านความสามารถของครูผู้สอน และนักเรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนและ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า ในอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ระยะที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า ระยะที่ 4 การศึกษาผลของการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อใบเตยป่า
สื่อและแหล่งเรียนรู้
.............
การวัดและประเมินผล
.............
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องแสดงภาวะผู้นำ โดยการให้ความสำคัญและอำนวยความสะดวก สนับสนุน ส่งเสริม การนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดทั้ง นิเทศติดตาม สนับสนุนส่งเสริมและให้กำลังใจแก่คณะครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นต้น
2. คณะครู ต้องมีลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่าน การศึกษาหาความรู้ รักและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาในท้องถิ่น ศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนโดยฝึกปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดประสบการณ์ และความรู้ที่ลึกซึ้งในภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่นักเรียน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ให้ความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ จัดการเรียนการสอนโดยปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกเล่าหรือถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ ดูแล และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หาคำตอบ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง คำนึงถึงการเรียนรู้ด้วยความสุข สนุกสนาน และเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. บุคลากรในชุมชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนสถานศึกษาอย่างจริงจัง
4. การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ควรจัดให้หลากหลายรูปแบบ โดยเน้นการเรียนรู้ที่เชื่อมกับชีวิต สภาพแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ส่วนสถานที่ดำเนินการสอนอาจเป็นในโรงเรียนหรือให้นักเรียนไปเรียนรู้นอกสถานที่กับปราชญ์ชาวบ้านและได้ชี้แนะให้ผู้บริหารและครูผู้สอนตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
..........


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883