[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
กาญจนา จิตรสำรวย


ชื่อนวัตกรรม
การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษา
         innovation | แชร์  เข้าชม 1252
ประเภทนวัตกรรม การประเมินผล
ปีที่พัฒนา 2555
ชื่อผู้พัฒนา กาญจนา จิตรสำรวย
หน่วยงาน สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2   สังกัด   สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
การประยุกต์ใช้เทคนิคการนิเทศที่หลากหลาย ได้แก่การนิเทศแบบกัลยาณมิตร การให้คำปรึกษาแนะนำ การเปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การเสริมสร้างขวัญกำลังใจใน
การปฏิบัติงาน และส่งเสริมความสามารถในการนำตนเองเพื่อให้ครูได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
และสามารถปฏิบัติงานด้านการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ และสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่ออบรมครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
1. ผู้นิเทศเขียนคู่มือการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ 1 เล่ม ตัวอย่างหนังสือเสริมประสบการณ์ 1 ชุด 9 เล่ม และเขียนคู่มือการนิเทศ
2. เพื่อวางแผนการนิเทศให้ครูสามารถจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
3. เพื่อประเมินสมรรถนะครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ ด้านความรู ทักษะและเจตคติ
4. เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้หนังส่งเสริมประสบการณ์
5. เพื่อเปิดโอกาสให้ครูนำเสนอผลการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ และผลการสอนทักษะการอ่านการเขียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์
6. เพื่อให้ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาผลงานซึ่งกันและกัน เพื่อปรับปรุงพัฒนา เติมเต็มผลงานการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนมีคุณภาพมากขึ้น

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศพัฒนาครูในการจัดทำหนังสือเสริม
ประสบการณ์
ขั้นตอนที่ 3 การนำรูแบบการนิเทศพัฒนาครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ไปใช้
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการนิเทศ
ขั้นตอนที่ 5 การเผยแพร่รูปแบบการนิเทศ


ขั้นตอนการนิเทศก์
ด้วยรูปแบบการนิเทศ แบบ 6S’s Kanjana Supervisory Model 6S’s Kanjana Supervisory Model ประกอบด้วย
Œ Scan
 Set Innovation
Ž Set the Plan
System
1. เทคนิคการนิเทศของชารี มณีศรี
1.1เทคนิคเสนอแนะ
1.2เทคนิคการสาธิต
1.3เทคนิคชวนพาที
2. Coaching
3. Mentoring
4. การประชุม
5. การให้คำปรึกษา
6. การนิเทศแบบมนุษยสัมพันธ์
7. การนิเทศทางไกล
Summative
‘Share and Cheer

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. แบบตรวจสอบสื่อประเภทคู่มือในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
2. แบบตรวจสอบคุณภาพสื่อประเภทตัวอย่างหนังสือเสริมประสบการณ์
3. แบบตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศ
4. แบบตรวจสอบแผนการนิเทศ
5. คู่มือการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
6. ตัวอย่างหนังสือเสริมประสบการณ์
7. แบบประเมินความรู้ของครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
8. แบบประเมินทักษะของครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
9. แบบวัดเจตคติของครูในการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์
10. แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการสอน
11. แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ
12. ประเด็นสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันผลการนิเทศ

การวัดและประเมินผล
1. ประเมินผลของรูปแบบการนิเทศเพื่อยืนยันของการนำไปใช้จากครูผู้รับการนิเทศ โดยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ
2. สังเคราะห์ข้อมูลและปรับปรุงรุปแบบการนิเทศให้เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
มีการติดตามผลกลุ่มครูผู้เข้ารับการนิเทศตามรูปแบบนี้เพื่อติดตามผลbการนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติจริงและมีผลงานอย่างต่อเนื่อง
กำหนดระยะเวลาในการนิเทศ ให้เหมาะสมกับสาระและกิจกรรมตามสภาพพื้นที่ฐานของ
ผู้เข้ารับการนิเทศ
การนิเทศตามรูปแบบนี้ ควรใช้เวลาช่วงปิดภาคฤดูร้อน เนื่องจากเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ต้องอาศัยระยะเวลาฝึกต่อเนื่อง 2 เดือน
การนำรูปแบบการนิเทศนี้ไปใช้ที่อื่น ควรมีการศึกษาข้อมูลด้านบริบทเพิ่มเติมก่อนแล้วจึงนำผล
ที่ศึกษาได้ไปรับใช้ให้เหมาะสม

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1. ก่อนนำรูปแบบการนิเทศไปใช้ควรศึกษาจุดประสงค์ ปรับเนื้อหา กิจกรรมและสื่อการนิเทศ ให้สอดคล้องกับสภาพของกลุ่มเป้าหมาย
2. ศึกษารูปแบบการนิเทศให้ละเอียด ชัดเจน เพื่อนำไปปฏิบัติให้เหมาะสม
3. ผู้เข้ารับการนิเทศ ควรเป็นครู ที่มีความสมัครใจ เสียสละ กระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
4. วิทยากรและผู้ให้การนิเทศ ควรเป็นผู้มีประสบการณ์ทั้งด้านการสอนการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ และการวิจัย
5. วางแผนดำเนินการนิเทศให้เหมาะสม ทั้งการจัดเตรียมสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
มีบุคลากรที่คอยอำนวยความสะดวก ให้ผู้เข้ารับการนิเทศ เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
6. ระยะเวลาในการนิเทศ ควรปรับให้เหมาะสมกับสาระและกิจกรรมตามสภาพพื้นที่ฐานของ
ผู้เข้ารับการนิเทศ
7. การนิเทศตามรูปแบบนี้ ควรใช้เวลาช่วงปิดภาคฤดูร้อน เนื่องจากเป็นการฝึกอบรม
เชิงปฏิบัติการ ที่ต้องอาศัยระยะเวลาฝึกต่อเนื่อง 2 เดือน
8. การนำรูปแบบการนิเทศนี้ไปใช้ที่อื่น ควรมีการศึกษาข้อมูลด้านบริบทเพิ่มเติมก่อนแล้วจึงนำผลที่ศึกษาได้ไปรับใช้ให้เหมาะสม



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883